ความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC)


ความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC)

สืบ เนื่องจากที่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกันนั้น รัฐบาลจากประเทศสมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทางหลัก ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่ขณะนี้กำลังเริ่มปรากฎผลเชิงรูปธรรมได้แก่เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9)

EWEC มีระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตไทยเป็นระยะทางยาวที่สุดคือประมาณ 950 กม. เส้นทางเริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว (Lao Bao) อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนามซึ่งติดกับชายแดนสปป.ลาว จากนั้นเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุ อ่าวเมาะตะมะที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง (Mawlamyine / Mawlamyaing) เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอาจจะสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและตะวันออกกลางต่อไป ขณะนี้โครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงประเทศทั้งสี่เข้าด้วยกันในเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกนี้สามารถเปิดใช้แล้วในระยะไทย-เวียดนาม มีเพียงช่วงหนึ่งในดินแดนพม่าที่ยังก่อสร้างอยู่

เมื่อเดือนธันวาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาวและรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) สามฝ่าย เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวบนเส้นทาง EWEC และจะร่วมมือกันดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้ความร่วมมือในด้านต่างๆบรรลุผล สำเร็จในช่วงปี 2551-2552 โดยประเด็นที่อาจเกี่ยวข้องกับ SMEs มี ดังนี้

1) การอำนวยความสะดวกด้านการค้า ให้จัดทำเวลาทำการของด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และด่านแดนสะหวัน-ลาวบาว ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ ทั้งสามประเทศยังเร่งรัดที่จะให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายการดำเนิน การความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: GMS CBTA) เพื่อให้สามารถเริ่มบังคับใช้การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าใน อนุภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งไทยและลาวจะจัด Single Window Inspection: SWI เพื่อเอื้อต่อการตรวจปล่อยสินค้า ณ จุดเดียว Single Stop Inspection: SSI ที่ด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต

2) การส่งเสริมการค้า โดยจัดงานแสดงสินค้าพร้อมการจับคู่ธุรกิจโดยเฉพาะ ธุรกิจลอจิสติกส์บนเส้นทาง EWEC ตลอดปี 2551 เช่นงาน Thailand Outlet 2008 ที่ดานัง เวียดนาม งาน Thailand Exhibition 2008 ที่สะหวันนะเขต สปป.ลาว เป็นต้น

3) การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน โดยกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนด้านอำนวยความสะดวกการค้าและลอจิสติกส์บนเส้นทาง EWEC

4) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบนเส้นทาง EWEC

ในส่วนของลู่ทางการลงทุนบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ EWEC นั้น จากความพยายามของสามฝ่ายเพื่อผลักดันโครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยการรวมแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สาม ทำให้หลังจากที่ได้เปิดสะพานมิตรภาพ 2 และเปิดใช้ถนนสาย EWEC ในระยะไทย-เวียดนามแล้วพบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยทัวร์ที่เป็นที่นิยมมากสำหรับนักท่องเที่ยวไทยคือการเดินทางไปเที่ยวทะเล ที่เวียดนาม ถือเป็นการไปเที่ยวเมืองนอกที่ประหยัดที่สุด นอกจากนี้ยังมีจุดขายเรื่องการรับประทานอาหาร 3 ชาติใน 1 วัน อย่างไรก็ตาม พบว่าลาวค่อนข้างได้ประโยชน์น้อยที่สุดในเชิงการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่ค่อยหยุดจับจ่ายหรือรับประทานอาหารในลาวมากนัก เพราะยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดไม่มากนัก ขณะนี้สปป.ลาวจึงมีนโยบายเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนร้านอาหารและโรงแรม ดังนั้น จึงเป็นลู่ทางอันดีสำหรับนักลงทุนไทยที่อยากเข้าไปทำธุรกิจด้านการท่อง เที่ยว ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก สถานีบริการน้ำมันที่มีร้านสะดวกซื้อ ศูนย์ซ่อมรถ และจุดพักรถ ซึ่งยังขาดแคลนมากตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะที่เมืองพินในแขวงสะหวันนะเขต

นอกจากนี้ รัฐบาลสปป.ลาวยังมีนโยบายเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศโดยใช้ลาว เป็นฐานการผลิต โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน แขวงสะหวันนะเขต ตามแนวเส้นทางหมายเลข 9 มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการลงทุนด้านเกษตรและเหมืองแร่ ในเดือนธันวาคม 2550 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศยังได้จัดการสัมมนาและการศึกษาดูงานเรื่อง ‘การพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทย-สปป.ลาวด้านการค้าการลงทุน การขนส่งและลอจิสติกส์บนเส้นทางเศรษฐกิจ EWEC’ ระหว่างการสัมมนาครั้งนี้ สองฝ่ายได้หารือในประเด็นความร่วมมือด้านสินค้าเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) โดยได้วางแผนขยายการผลิต การตลาด การย้ายฐานการลงทุนผลิตสินค้าเชื่อมโยง โดยเฉพาะสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีในกรอบความร่วมมืออา เซียนและการส่งออกไปสู่ประเทศที่สามโดยเฉพาะตลาดจีน รายการพืชที่ผู้ประกอบการไทยและลาวได้เสนอเข้าร่วมโครงการจำนวนมี 16 รายการ ได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ยูคาลิปตัส ละหุ่ง ถั่งเขียว กล้วยน้ำว้า มะขามเปียก มะเขือเทศ สับปะรด ส้มโอ ฝ้าย มันเทศ มันสำปะหลัง ข้าวเหนียว ปอสา และว่านหางจระเข้ พืชอื่นๆที่ได้มีนักลงทุนจากไทยขอสัมปทานพื้นที่เพาะปลูกในสะหวันนะเขตคือ อ้อย ยูคาลิปตัสเพื่อผลิตกระดาษ และยางพารา การลงทุนด้านเกษตรที่แขวงสะหวันนะเขตที่ผ่านมาได้ผลน่าพอใจเนื่องจากสภาพดิน ดีให้ผลผลิตสูง ขณะนี้ภาครัฐกำลังผลักดันให้มีการบริหารการนำเข้าสินค้าเกษตร โดยไทยขอให้สปป.ลาวเร่งรัดการจัดตั้ง One Stop Service ที่ชายแดน ตลอดจนไซโลรองรับผลผลิต การจัดระบบขนส่ง และขนสินค้าข้ามแดนทั้งในด่านสากลและด่านท้องถิ่นระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การทำเกษตรแบบมีสัญญา

ส่วนในด้านการลงทุนพบว่าสาขาที่สปป.ลาวสนใจร่วมทุนและขยายกิจการได้แก่ สาขาก่อสร้าง (อิฐบล๊อก พื้นสำเร็จ เสาเข็ม) ร่วมทุนแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้ กิจการโรงแรม บ้านพัก รีสอร์ต (บริเวณที่ดินในปักเซใกล้น้ำตกคอนพะเพ็ง แขวงจำปาสัก) สินค้าพื้นบ้าน น้ำยาล้างจาน และขยายกิจการสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งเส้นทาง EWEC ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้สะดวกขึ้น

ทั้งนี้ SMEs ที่สนใจลงทุนบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ EWEC อาจสามารถเข้าร่วมงานสัมมนา การจับคู่ธุรกิจ และกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ภาครัฐจัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2551ได้ โดยติดต่อผ่าน สสว. ที่ฝ่ายส่งเสริมนโยบายและความร่วมมือระหว่างประเทศ โทร. 02 278 8800 ต่อ 296 หรือฝ่ายประสานและบริการ SMEs โทร. 02 278 8800 ต่อ 587

แหล่งอ้างอิง : สสว. http://cms.sme.go.th, กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ศูนย์กลางข่าวสารด้านคมนาคม –http://www.logisticnews.netภาพจาก: Asian Development Bank, สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา http://www.bihap.org/th/main/content.php?page=sub&category=19&id=119

3 comments

  1. admin

    เกร็ดการค้าและการลงทุน ในเวียดนาม
    ที่มา : http://www.ddcommerce.com/news-02/20/

    รายการเกร็ดการค้า ดังนี้:

    • 30 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับเวียดนาม

    Click to access 001.pdf

    • FII ในเวียดนาม ผลพวงความสำเร็จของ FDI

    Click to access 002.pdf

    • Lao Bao เมืองชายแดนของเวียดนามบนเส้นทาง EWEC

    Click to access 003.pdf

    • Phu My Power Complex แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ของเวียดนาม

    Click to access 004.pdf

    • Vung Ang เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเวียดนาม

    Click to access 005.pdf

    • กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฉบับใหม่ของเวียดนาม

    Click to access 006.pdf

    • การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าในเวียดนาม ความจำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข

    Click to access 007.pdf

    • การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเวียดนาม

    Click to access 008.pdf

    • การพัฒนา SMEs ของเวียดนาม

    Click to access 009.pdf

    • การพัฒนาสนามบินในเขตเศรษฐกิจเปิด Chu Lai ของเวียดนาม

    Click to access 010.pdf

    • การส่งออกแรงงานของเวียดนาม

    Click to access 011.pdf

    • เกาะ Phu Quoc สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล

    Click to access 012.pdf

    • ข้อกำหนดการจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัทในเวียดนาม

    Click to access 013.pdf

    • ข้อกำหนดราคาที่ดินฉบับใหม่ของเวียดนาม

    Click to access 014.pdf

    • เขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม

    • เครือข่ายทางรถไฟยกระดับ พลิกโฉมการเดินทางครั้งสำคัญของเวียดนาม

    • โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ของเวียดนาม

    • จังหวัด An Giang โอกาสยังเปิดกว้างสำหรับนักลงทุน

    • จังหวัด Lao Cai ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเวียดนามตอนบน

    • จังหวัด Quang Nam พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญตอนกลางของเวียดนาม

    • จังหวัด Tay Ninh ประตูสู่เวียดนามตอนใต้

    • จับตาสินค้าเวียดนาม…โอกาสแซงหน้าสินค้าไทย

    • เจาะลึกข้อมูลปศุสัตว์ของเวียดนาม

    • เจาะลึกข้อมูลรายพื้นที่ของเวียดนาม

    • ต้นทุนปัจจัยการผลิตพื้นฐานในเวียดนาม

    • ตลาดแรงงานในเวียดนาม

    • ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

    • ทางออกของเวียดนามกรณีเลื่อนลดภาษีรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบยานยนต์

    • ท่าเรือไฮฟอง

    • ธุรกิจค้าปลีกในเวียดนามเป็นอย่างไร

    • น้ำปลา Phu Quoc…สร้างชื่อเสียงให้เวียดนามโด่งดังไปทั่วโลก

    • บริการโทรคมนาคมในเวียดนาม โอกาสเปิดกว้างสําหรับนักลงทุน

    • เปิดโลกการลงทุนในเวียดนาม

    • ผลกระทบต่อไทย…หลังจากเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO

    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละภูมิภาคของเวียดนาม

    • พันธกรณีและผลกระทบต่อเศรษฐกิจเวียดนาม….หลังเข้าเป็นสมาชิก WTO

    • มรรยาทในการติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนาม

    • มาตรการส่งเสริมการลงทุนของจังหวัดดานัง

    • ระบบการศึกษา…ขุมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเวียดนาม

    • ระเบียบสุขอนามัยสำหรับโรงงานผลิตอาหารในเวียดนาม

    • เวียดนามกับการเข้าเป็นสมาชิก WTO

    • เวียดนามกับการเปิดเสรีด้านการเงินและการธนาคาร

    • สาขาเกษตร โอกาสของไทยในการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม

    • หมู่เกาะ Van Don พื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ของเวียดนาม

    • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว…เสน่ห์ที่ซ่อนเร้นของเวียดนาม

    • อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเวียดนาม

    • อุตสาหกรรมน้ำมันของเวียดนาม

    • อุตสาหกรรมประมงของเวียดนาม

    • อุตสาหกรรมแฟชั่นของเวียดนาม…ร้อนแรงหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO

    • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม

    • อุโมงค์ไฮวัน จุดเชื่อมเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ของเวียดนาม

  2. admin

    เส้นทาง East-West Economic Corridor(เวียดนาม,ลาว,ไทย,พม่า)
    ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nuttavut&date=14-05-2009&group=4&gblog=14

    หากท่านมี เวลาว่างประมาณ 10 วัน และท่านเป็นคนที่นิยมการเดินทางต่างประเทศ หรือท่องเที่ยวเพื่อค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสายลมให้กับชีวิตท่านหรือแม้ไม่ ค้นหาอะไรเลยแต่ต้องการพักผ่อนก็ตาม ท่านอาจจะนึกถึงยุโรป 3 ประเทศ ฝรั่งเศส สวิสฯ อิตาลี หรือไม่ก็อินเดีย หรือถ้าชอบนั่งรถน้าน นาน ท่านอาจจะคิดถึงการเดินทางด้วยเส้นทาง R3A เชียงราย บ่อเต็น- คุนหมิง แล้วไปดูความสวยงามของแชงกรีล่า หรือชื่อที่จีนเรียกเมืองจงเตี้ยนในมณฑลยูนานซึ่งจริง ๆ แล้ว R3A สามารถวิ่งระหว่าง คุนหมิง-กรุงเทพฯ หรือที่ชาวจีนเรียก “คุน-มั่ง กงลู่”หนึ่งในเส้นทางการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ North-South Economic Corridor ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเส้นทาง R3AและR3B ได้ที่เว็บไซด์ของกรมทางหลวงที่ http://www.doh.go.th/dohweb/international/develop.html

    เนื่อง จากโลกไร้พรหมแดนภายใต้การสนับสนุนด้านการเงินจาก ADB และรัฐบาลจีน หรือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย อย่าสับสนระหว่างธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย(ADB) กับ ธนาคารเอเซีย ที่อยู่ตึกหุ่นยนต์ย่านสาทร หรือ (BOA) นะครับ BOA หน่ะผมเคยร่วมงานด้วยเมื่อสมัยเรียนจบใหม่ ๆ เปลี่ยนมือไปเป็นของฮอลแลนด์(ABN-AMRO) ปัจจุบันเป็นของสิงคโปร์คือธนาคาร ยูโอบีไปแล้ว ท่านคงงงว่าแล้วรัฐบาลจีนจะเข้ามาเกี่ยวข้องให้เงินช่วยเหลือทำไม นั่นนะซิ คำตอบก็คือ เส้นทางสาย “คุน-มั่ง กงลู่” หรือคุนหมิง-กรุงเทพฯ (เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว-ด่านบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ติดชายแดนจีนที่เมืองเหมิ่งล่า (Mohan) ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา อยู่ในมณฑลยูนนานของจีน)

    เริ่มขึ้นเมื่อปี 2538 ภายใต้โครงการ “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” ประกอบไปด้วยประเทศไทย จีน พม่า และลาว ซึ่งกลุ่มทุนผู้รับสัมปทานก่อสร้างถนน เป็นของคนไทยมาจาก 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่ม “ครอบครัวอุษา” หรือตระกูล “แซ่เตี๋ยว”หรือชื่อเต็ม ๆ ในทางธุรกิจคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดครอบครัวอุษา ถ้าเอาถึงที่ตั้งก็ที่ 21-3 ซอย 2 ท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีทายาทเป็น “เขยลาว” ซึ่งผู้เป็นพ่อตาถือเป็นผู้ที่มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคนในรัฐบาล ลาว(เปรียบเจ้าสัว ซีพี กับรัฐบาลไทยประมาณนั้น) แต่การสร้างถนนระดับนี้ต้องใช้เงินทุนไม่น้อยจึงมีปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน กลุ่มที่ 2 คือ บริษัทร่วมพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จำกัด ที่เข้ารับสัมปทานแทน ครอบครัวอุษา แต่ก็มีปัญหาเรื่องเงินทุนอีกเนื่องจาก ADB ไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้ สาเหตุเนื่องจากเป็นบริษัทเอกชน ขณะที่รัฐบาลลาวก็ไม่ยอมที่จะค้ำประกันเงินกู้ให้เพราะบริษัทไม่ใช่รัฐ วิสาหกิจของลาว (ADBก็กลัว NPL ว่างั้นเถอะ)

    จนกระทั่งวันที่ 25 กันยายน 2541 รัฐบาลลาวยกเลิกสัมปทานทำถนนเส้นนี้ เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 ADB เข้ามาเป็นโซ่ข้อกลาง(อ๋อ พล.อ.ชวลิตหรือบิ๊กจิ๋วท่านเอาแนวความคิดโซ่ข้อกลางมาจาก ADB นี่เอง) ADB จัดประชุม 3 ฝ่าย (ไทย ลาว จีน) เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาเส้นทางสายนี้ตามที่รัฐบาลลาวร้องขอไปเมื่อปี 2541 ซึ่งในการประชุมคราวนี้ที่ประชุมมีมติให้ยุบพรรค เอ้ยมีมติที่จะให้สร้างถนนสายนี้เป็น 2 เลน ระยะทาง 228 กม. แบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามแหล่งเงินทุนและความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ไทย และADB โดยเริ่มปรับปรุงตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา (รัฐบาลจีนก็มาเกี่ยวด้วยประการฉะนี้แล) จึงไม่น่าแปลกใจที่ถนนเส้นนี้ใช้เวลาสร้างเป็น 10 ปี

    แต่ก็ยังดี กว่าโครงการโฮปเวลล์ หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือ BERTS(Bangkok Elevated Road and Train System) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันยังขึ้นได้เพียงตอม่อ(ขอแอบหัวเราะทั้งน้ำตาแบบ นายกอร์ดอน วูเจ้าของบ.โฮปเวลล์ชาวฮ่องกงหน่อย อิๆ หรือท่านใดจะแวะไปทักทายหรือปลอบใจแกก็ไปที่ 64/F Hopewell Centre, 183 Queen’s Road East, Wan Chai, Hong Kong หรือ http://www.hopewellholdings.com)ออกทะเลเลยผมกลับเข้ามาสู่ East-West Economic Corridor การที่ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Sub-Region : (GMS) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ รวมถึงการท่องเที่ยว และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการค้าระหว่างกันได้ง่ายขึ้นรัฐบาลจากประเทศ สมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทางหลัก(แต่ดูข้อมูลของกรมทางหลวงมี10 เส้นทาง) ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่จะพาท่านไปวันนี้คือ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือ เส้นทางหมายเลข 9 (R9) EWEC มีระยะทางยาวทั้งสิ้น 1,450 กม. โชคดีที่อยู่ในเขตไทยเป็นระยะทางยาวที่สุดคือประมาณ 950 กม.เราจึงสามารถศึกษาเส้นทางเส้นนี้ได้โดยไม่ต้องเดินทางออกต่างประเทศ

    เส้น ทางเริ่มจากเมืองท่าดานังในเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว (Lao Bao) อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนามซึ่งติดกับชายแดนสปป.ลาว(สามารถหาอ่าน ได้จากตอนที่พาเที่ยวเวียดนามกลาง-ใต้ทางรถยนต์)จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหารวิ่งผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ต่อเข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุอ่าวเมาะตะมะสามารถข้ามแพขนานยนต์ข้ามอ่าวเมาะ ตะมะที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง (Mawlamyine หรือ Mawlamyaing) ถิ่นของนายมะกะโทราชบุตรเขยพระเจ้ารามคำแหง เส้นทาง EWEC เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้(อ่าวตังเกี๋ย) สู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ เหมือนอ่าวไทยบ้านเราซึ่งอยู่ฝั่งทะเลจีนใต้ หากจะทะลุไปอันดามันทางเรือต้องผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นช่องแคบระหว่าง แหลมมลายูและเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย และตะวันตกและใต้ของมาเลเซียทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะ สุมาตรา

    ไทยเคยมีแนวคิดขุดคอคอดกระซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของ ประเทศไทยที่อยู่ระหว่าง อ.กระบุรี จ.ระนองกับ อ.สวี จ.ชุมพรเคยมีแนวคิดให้ขุดคลองสมัยท่านปรีดี พนมยงค์ แต่หลายฝ่ายคัดค้านด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง) ซึ่งจากมะละแหม่ง ของพม่าผมว่าอนาคตอาจจะสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและตะวันออกกลางได้หาก พม่าเปิดประเทศ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ นะครับพี่น้อง ประดุจเส้นทางสายไหมคาราโครั่มไฮเวย์(Karakoram highway) ซึ่งเส้นทางขนาบไปด้วยเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูจ และเทือกเขาคาราโครัมถึง เมืองซีอานปลายทางสายไหมประเทศจีน ทะลุมองโกเลียเข้ารัสเซียกันไปเลย เส้นทางนี้เกิดขึ้นแน่ในเร็ววันนี้ไม่ 5 ปี 10 ปี หรืออาจจะพรุ่งนี้มะรืนนี้ด้วยซ้ำ

    แต่ยังมีบางประเทศใน เศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ประชาชนในชาติยังทะเลาะกันเอง แบบว่าจับผิดทุกสิ่งทุกอย่างของฝ่ายตรงข้าม ด้วยเหตุผลอย่างเดียวไม่ใช่พวกฉัน มีการแบ่งฝักฝ่ายเป็นหลายสีจนจะเป็นสีรุ้งอยู่แล้ว คนเสื้อเหลือใส่เสื้อแดงไม่ได้ คนเสื้อแดงก็ใส่เสื้อเหลืองไม่ได้ คนเสื้อน้ำเงินก็ใส่ไม่ได้ทั้งแดงและเหลือง คนเสื้อขาวยิ่งกรรมใส่ได้สีเดียว ไปใส่สีอื่นหาว่าไม่เป็นกลาง บ้านเมืองเลยเจริญฮวบฮาบ ประเทศเพื่อนบ้านในเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงก็นั่งจับเข่าแล้วเอามือ กุมขมับ(กบาล) หวังจะให้เป็นพี่ใหญ่ย่านนี้จะได้พึ่งใบบุญ ไหงในประเทศพี่ตีกันเองซะเละแถมยังเอาตัวไม่รอดเขมรยังแข็งกร้าวทวงหนี้ รัฐบาลทุกวันข้อหายิ่งปืนใส่ทหารเค้า ไม่สำนึกบุญคุณช่วยสร้างประเทศเมื่อ 20 กว่าปีก่อน นี่เป็นเพราะในชาติเราอ่อนแอแท้ ๆ ต้องยืมคำพูดคุณวู้ดดี้เกิดมาคุยที่กล่าวว่า “ราตรีสวัส พี่น้องชาวไทย

    เส้น ทาง East-West Economic Corridor เริ่มจากเมืองท่าดานังในเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว (Lao Bao) อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนามซึ่งติดกับชายแดนสปป.ลาว จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหารวิ่งผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ต่อเข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุอ่าวเมาะตะมะสามารถข้ามแพขนานยนต์ข้ามอ่าวเมาะ ตะมะที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง

    เมือง ดานังเป็นเมืองท่าที่สำคัญของเวียดนาม หรือที่คนเวียดนามเรียกดาหนังสามารถขนถ่ายสินค้าที่มาจากทะเลจีนใต้ขึ้นทาง รถเพื่อใช้เส้นทาง East-West Economic corridor

    East-West Economic Corridor ผ่านเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดถัวเทียน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียน ช่วงปี พ.ศ. 2345-2488 เว้อยู่ในเวียดนามกลางตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้ำหอม ห่างจากฮานอย 540 กม. ห่างจากโฮจิมิน 644 กม.

    ด่านลาวบาวด่านชายแดนเวียดนาม-ลาว เมื่อผ่านด่านใช้เส้นทางหมายเลข 9 ผ่านเมืองพีน (Phin) – เข้าแขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว

    แข วงสะหวันนะเขตอยู่ตอนกลางค่อนข้างใต้เทียบกับไทยก็ประมาณ ประจวบคีรีขันธ์ เมืองหลวงคือไกรสอนพมวิหาร เป็นแขวงใหญ่ลำดับ 2 ลองจากนครหลวงเวียงจันทร์ East-West Economic Corridor ทำให้คนไทยข้ามไปเที่ยวสะหวันนะเขตมากขึ้น รวมถึงคนเวียดนามก็เข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น เส้นนี้เองที่ทำให้แรงงานเวียดนามไหลเข้ามาในประเทศไทย อยู่ย่าน ม.รามคำแห่งเยอะแยะไปหมด ปลายเดือนทีก็ออกไปลาวเพื่อไม่ให้วีซ่าขาดเพราะถือ Passport เวียดนามอยู่ไทยได้ 30 วัน เหมือนเราไปเวียดนาม

    สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 สะหวันนะเขด-มุกดาหาร ซึ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 นี้เป็นเส้นทางเชื่อม East-West Economic Corridor ทำให้แขวงสะหวันนะเขดกลายเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ รัฐบาลลาวได้ประกาศจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน

    East-West Economic Corridor เข้าสู่ประเทศไทยที่ด่าน ตม.มุกดาหาร ศตม.ภ.ตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงนี้หากเป็นชาวไทยเดินทางออกนอกประเทศถ้ามี Passport สามารถอยู่ในลาวได้ 30 วัน หากถือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ( Temporary Border Pass) หรือหนังสือผ่านแดน ( Border Pass) สามารถพำนักอยู่ในพื้นที่แขวงสะหวันนะเขตได้ครั้งละไม่เกิน 3 วัน( 2 คืน)

    จากจังหวัดมุกดาหารวิ่งผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก

    จาก พิษณุโลก สุโขทัยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข12 จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากระยะทาง 770 กม.

    East-West Economic Corridor ไปสู่พม่าที่ เมืองมะละแหม่งชาวไทยเชื้อสายมอญหลายหมู่บ้านมีตำนานเล่าขานว่าบรรพบุรุษของ ตนอพยพมาจากเมืองมะละแหม่ง หากพม่าเปิดประเทศสามารถไปได้ถึงอินเดีย ตะวันออกกลาง หรือจีน และรัสเซียได้ โลกนี้ไร้พรมแดนจริง ๆ

    หากไม่มี East-West Economic Corridor เดินทางโดยเรือต้องผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา

    East-West Economic Corridor ประดุจเส้นทางสายไหมคาราโครั่มไฮเวย์(Karakoram highway) ซึ่งเส้นทางขนาบไปด้วยเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูจ และเทือกเขาคาราโครัมถึง เมืองซีอานปลายทางสายไหมประเทศจีน ทะลุมองโกเลียเข้ารัสเซียกันไปเลย

    Create Date : 14 พฤษภาคม 2552
    Last Update : 9 สิงหาคม 2552 20:25:53

  3. admin

    ร่วมงานไทยคึกคัก

    เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ณ ห้องออร์คิด บอลลูม ชั้น 2 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออร์คิด รศ.นพ.วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข รองคคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ คุณวัลย์ณรัตน์ ศรีไสย หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ เข้าร่วมงาน ไทยครึกครื้น ไทยคึกคัก กิจกรรมส่งเสิรมการขาย Road Show เส้นทาง East West Economic Corridor (พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร) ในงานมีการจัดบูธโชว์กิจกรรมส่งเสริมการขาย Trade Meet และการบรรยายสรุปเรื่องโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกันนั้น รัฐบาลจากประเทศสมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทางหลัก ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่ขณะนี้กำลังเริ่มปรากฎผลเชิงรูปธรรมได้แก่เส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9)
    EWEC มีระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตไทยเป็นระยะทางยาวที่สุดคือประมาณ 950 กม. เส้นทางเริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว (Lao Bao) อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนามซึ่งติดกับชายแดนสปป.ลาว จากนั้นเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในสปป.ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุ อ่าวเมาะตะมะที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง (Mawlamyine / Mawlamyaing) เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอาจจะสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและตะวันออกกลางต่อไป ขณะนี้โครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงประเทศทั้งสี่เข้าด้วยกันในเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกนี้ สามารถเปิดใช้แล้วในระยะทางจากไทย-เวียดนาม มีเพียงช่วงหนึ่งในดินแดนพม่าที่ยังก่อสร้างอยู่

    ที่มา http://www.md.kku.ac.th/th/news/index.php?option=com_content&task=view&id=1311&Itemid=65

ใส่ความเห็น