ญี่ปุ่นเร่งกู้ระเบิดเวลา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เจียนระเบิด


ญี่ปุ่นเร่งกู้ระเบิดเวลา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เจียนระเบิด( สถานการณ์โลก)

วันที่ 13 มีนาคม 2554 09:36

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า 2 แห่ง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวราว 260 กิโลเมตร

ล่าสุด กรมอุตินิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับตัวเลขแผ่นดินไหวเป็น 9.0 ริกเตอร์จากประเมินไว้เดิม 8.8 เป็นผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับความเสียหาย

กรม อุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับตัวเลขแผ่นเดินไหวจากเดิม 8.8 ริกเตอร์ เป็น 9.0 ริกเตอร์ เทียบเท่าแผ่นดินไหวอินโดนีเซียปี 2547 หลังประเมินคลื่นแรงสั่นสะเทือนใหม่ ขณะที่รัฐบาลประกาศความเสี่ยงโรงไฟฟ้าอยู่ระดับ 4

โตชิฮิโร บันไน ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผย กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเช้าวันนี้ถึงความเป็นไปได้ที่แกนนิวเคลียร์ของโรง ไฟฟ้าฟูกูชิม่าไดอิชิ อาจเกิดหลอมละลายอันเนื่องมาจากระบบหล่อเย็นที่ล้มเหลวหลังจากเกิดแผ่นดิน ไหวครั้งใหญ่ขนาด 8.9 ริกเตอร์เมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค.) ที่ผ่านมา แม้จะไม่ยืนยันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึงขั้นอวสานแล้ว แต่เขายอมรับว่ามีโอกาสเป็นไปได้

ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับมหันตภัยครั้งใหญ่หลังจากสินามิถล่มเมืองชาย ฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แรงสั่นสะเทือนส่งผลให้ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ไดอิชิ ไม่สามารถระบายความร้อนให้กับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่ใช้แท่งซีเซียมเป็นตัวทำ ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่เพื่อสร้างพลังงานความร้อนสำหรับใช้ขับเคลื่อน เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

หากระบบหล่อเย็นล้มเหลวอาจส่งผลให้แกนกลางของเตาปฏิกรณ์ร้อนจัดจนละลาย และส่งผลให้แท่งนิวเคลียร์กระจายกัมมันตภาพรังสีออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นอันตรายต่อชีวิตและต้องใช้เงินทุนมหาศาล และเวลาหลายสิบปีเพื่อฟื้นสภาพคืนมา

ความพยายามกอบกู้ระบบหล่อเย็นให้กลับมาทำงานวานนี้ (12 มี.ค.) ประสบความล้มเหลว และเป็นผลให้ตัวปั๊มแรงดันเกิดระเบิดขึ้นทำให้อาคารภายในโรงไฟฟ้าถล่มลงมา แต่ตัวเตาปฏิกรณ์ปรมาณูยังไม่ได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตาม บันไนกล่าวว่าตอนนี้วิศวกรยังไม่สามารถเข้าใกล้แกนเตาปฏิกรณ์ได้ใกล้พอที่จะ บอกถึงสถานะล่าสุด แต่การประเมินทำได้จากการวัดระดับรังสีในอากาศเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะระดมฉีดน้ำทะเล และโบรอนเข้าไปในโรงงานเพื่อลดความร้อนให้กับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และหยุดกระบวนการปฏิกิริยาลูกโซ่

“เราพอจะมั่นใจอยู่บ้างว่าสถานการณ์น่าจะควบคุมได้ เรามั่นใจมากว่า เราจะแก้ปัญหาได้”

รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า เหตุระเบิดที่อาคารภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อวันเสาร์มองเห็นเป็นควันขาว ฟุ้งออกมาจากโรงไฟฟ้าจากระยะไกล แม้ระดับของรังสีที่ตรวจพบเริ่มลดระดับลงแล้วหลังจากทีมกอบกู้ระดมฉีดน้ำ ทะเลเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ และเพื่อความปลอดภัยยังได้ย้ายประชาชน 170,000 คนออกจากพื้นที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นรายงานสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาต่อมา พบปัญหาระบบหล่อเย็นเกิดขึ้นกับอาคารหลังที่ 3 ของโรงไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เจ้าหน้าที่พยายามระบายแรงดันออกจากเตาปฏิกรณ์ที่อุณหภูมิกำลังเพิ่มสูงขึ้น แล้ว ซึ่งแรงดันไอน้ำที่ระบายออกมามีกัมมันตรังสีปนเปื้อนมาในจำนวนเล็กน้อย

เคน เบอร์กีรอน นักฟิสิกส์ และอดีตนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติซานเดีย วิเคราะห์สถานการณ์ว่า การตรวจพบไอโซโทปของธาตุซีเซียมแสดงให้เห็นว่า ชั้นปกป้องเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้รับความเสียหายแล้ว ตอนนี้ได้แต่หวังว่าตัวอาคารจะควบคุมไม่ให้รังสีจำนวนมากแพร่กระจายออกมาได้ สำเร็จ

เช้าวันอาทิตย์ (13 มี.ค.) กระแสลมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นพัดจากพื้นดินออกสู่ทะเลด้วยความ เร็ว 5-15 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่มีความเป็นไปได้ว่า กระแสลมอาจกลับทิศทางในคืนวันจันทร์ที่ 14 มี.ค. สำหรับตัวโรงงานไดอิชิตั้งอยู่ 260 กิโลเมตรจากกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือ

ประกาศความเสี่ยงระดับ 4

สำนักข่าวเอ็นเอชเครายงานผ่านเว็บไซต์ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจัดอันดับความเสี่ยงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า อยู่ที่ระดับ 4 จากระดับอันตรายสูงสุด 0-7 ตามเกณฑ์สากล

การจัดอันดับความเสี่ยงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากตรวจพบสารกัมมันตรังสี ซีเซียม และไอโอไดน์ใกล้เตาปฏิกรณ์หมายเลขหนึ่งที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า ไดอิชิ เมื่อวันเสาร์ (11 มี.ค.)

ขณะเดียวกัน สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นแจ้งว่า แท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์เริ่มละลายแล้วบางส่วน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของญี่ปุ่น

สำหรับความเสี่ยงระดับ 4 ตามเกณฑ์กำหนดของ International and Radiologocal Event Scale หมายถึง ระดับความเสียหายที่เกิดกับแท่งเชื้อเพลิง และการตรวจพบปริมาณรังสีในระดับสำคัญภายในโรงไฟฟ้า

สำนักงานความปลอดภัยแถลงว่า อุบัติเหตุดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลด แม้ว่าจะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติก็ตาม

Tags : นิวเคลียร์ระเบิด สินามิญี่ปุ่น แผ่นดินไหวญี่ป่น

1 comments

  1. admin

    สื่อญี่ปุ่น จวกนายกฯ รับมือเหตุระเบิดโรงงานนิวเคลียร์ล่าช้า
    วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2011 เวลา 10:06 น.

    ATNN (13 มี.ค.) นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น เผชิญกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนอย่างหนัก ต่อกรณีที่รัฐบาลดำเนินการรับมือล่าช้าจากเหตุระเบิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว และก่อให้เกิดความกังวลว่า จะทำให้กัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาทั้งหมด โดยหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ทั้งโยมิอูริ อาซาฮี และไมนิจิ ต่างระบุว่า การดำเนินการล่าช้าของรัฐบาลจะยิ่งทำให้ประชาชนสับสนมากขึ้น และว่ารัฐบาลควรเร่งรับประกันความปลอดภัยของประชาชนให้เร็วที่สุด

    ก่อนหน้านี้ เกิดระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกุชิมะหมายเลข 1 ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียวราว 250 กิโลเมตร หลังได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ แม้มีระดับกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาจากโรงนิวเคลียร์ แต่รัฐบาลยังพยายามคลายความวิตกของประชาชนว่าไม่มากนัก

    ที่มา http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=27241:2011-03-13-03-17-43&catid=39:breaking-news&Itemid=69

ใส่ความเห็น